วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แนะนำ PCT โสต ศอ นาสิก



PCT โสต ศอ นาสิก
วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลสกลนครเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นเลิศในเขต 11โดยระบบบริหารจัดการที่ มี ประสิทธิภาพใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีบุคลากรมีความสุข
เจตจำนง / ความมุ่งหมาย (Purpose)
ให้บริการผู้ป่วยโรคทางหู คอ จมูกตามมาตรฐานวิชาชีพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผู้รับบริการพึง พอใจ
ขอบเขต ( Scope )
- ให้บริการรักษาพยาบาล ผ่าตัดโรคทางหู คอ จมูกและผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้า(ที่ไม่มีปัญหาด้านได้รับบาดเจ็บที่สมองร่วมด้วย) ทุกเพศ ทุกวัย(ยกเว้นทารกแรกคลอด- 1 เดือน) ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24ชั่วโมง
- ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการฟัง ด้วยการทดสอบการได้ยิน แก้ปัญหาด้านการฟังด้วยพยาบาลเฉพาะทางและ ให้บริการเครื่องช่วยฟัง
ความเสี่ยงเฉพาะโรค ที่ควรรู้ในโรคประกัน2009
ผู้ป่วยผ่าตัดทอนซิล

ความเสี่ยง

1.ภาวะเลือดออกมากผิดปกติและได้รับการแก้ไขที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
2.กลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน
3. ติดเชื้อแผลผ่าตัด
แนวทางป้องกัน /หลีกเลี่ยง
1.ดูแลอมน้ำแข็ง ประคบเย็นที่คอ
2.record:V/S ,
3.IVF care
4.ตรวจช่องคอ ประเมินภาวะ bleed รายงานแพทย์ set or stop bleed
5.จัดหา Cold pack ที่เหมาะสม กับผู้ป่วย
6.จัดท่านอนศีรษะสูง ตะแคง,clear air way ป้องกันภาวะ upper air way obstruction
7.แนะนำหลีกเลี่ยง ไอจาม ขากเสมหะแรงๆ หากเลี่ยงไมได้ให้อ้าปากขณะไอ จาม
8.ให้ดื่มจากแก้ว แทนการใช้หลอดดูด
9.ปรับปรุงการบันทึก Nurses note เพื่อบันทึก ภาวะเลือดออก
ผู้ป่วยเจาะคอคาท่อหลอดลม
ความเสี่ยง
1. ท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด
2. Bleeding
3. ท่ออุดตัน
4. มีลมในปอด(Pneumothorax) และมีลมใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema)
5. เกิดรูทะลุระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร (tracheosophageal fistula)
6. การติดเชื้อโรคของแผลเจาะคอ เนื่องจากการคั่งของเสมหะบริเวณแผลหรือติดเชื้อโรคขณะทำแผล
7. เกิดการสำลัก
8. ปอดแฟบ (atelectasis)
9. หลอดลมตีบ (Tracheal stenosis)
แนวทางป้องกัน /หลีกเลี่ยง

1. ผูกสายท่อหลอดลมคอเป็นเงื่อนตาย ความยาวให้ใช้นิ้วสอดระหว่างสายกับคอของผู้ป่วย ( สองนิ้วสอด)ตรวจสอบตำแหน่งสายทุกเวรโดยพยาบาลวิชาชีพ
2. Observe Bleeding รอบแผลผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถ้าเลือดออกมาก pack ด้วย vasseline
3. Observeลมใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema)
4. Sterile dressing
5. แนะนำการไอขับเสมหะอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น