วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มาดูแลผู้ป่วยเจาะคอกันเถอะค่ะ



มาดูแลผู้ป่วยเจาะคอกันค่ะ
การเจาะหลอดลมคอหรือการเจาะคอ เป็นการผ่าตัดเข้าหลอดลมคอ โดยผ่านผิวหนังและกล้ามเนื้อคอ เพื่อใส่ท่อหลอดลมคอช่วยในการหายใจหรือดูดเสมหะ

อุปกรณ์ทำความสะอาดท่อเจาะคอ
1.หม้อต้มท่อ
2.ชามหรือถ้วยสำหรับล้างท่อ
3.น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1:3
4.ผงซักฟอก, น้ำยาล้างจาน
5.ไม้พันสำลีหรือแปรงล้างหรือผ้าก็อซมัดเป็นปม 3-4 ปม
6.ถุงมือสะอาด

ขั้นตอนการทำความสะอาดท่อเจาะคอ
1. ล้างมือให้สะอาดหมุนปุ่มล็อคขึ้นด้านบนจับปีกท่อชั้นในแล้วดึงท่อออกตามแนวโค้งของท่อ
2. นำท่อแช่ใส่ชามหรือถ้วยสำหรับล้างท่อ เทน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พอประมาณจนท่วมท่อ แช่นานประมาณ5 นาที
3.ล้างท่อให้สะอาดด้วยไม้พันสำลีหรือแปรงล้างหรือผ้าก็อซกับน้ำผสมผงซักฟอก/น้ำยาล้างจาน
4. นำท่อไปต้มในน้ำ นาน 20 นาที เทน้ำทิ้ง วางท่อให้เย็น ในหม้อ ปิดฝาหม้อไว้ ป้องกันฝุ่นผงตกใส่แล้วนำกลับไปสวมใส่ท่อเจาะคอตามแนวโค้งเหมือนเดิมพร้อมหมุนปุ่มล็อกกลับ

การล้างแผลเจาะคอ
อุปกรณ์
1.ถ้วยที่ผ่านการต้มฆ่าเชื้อแล้ว
2.เหล็กคีบสำหรับล้างแผล
3.น้ำเกลือล้างแผล
4.กอซปิดแผล
5.ปลาสเตอร์
ขั้นตอน
1.ดูดเสมหะ หรือให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะ
2.แกะปลาสเตอร์และกอซปิดแผลออก
3.ล้างมือให้สะอาด
4. นำถ้วยล้างแผล,เทน้ำเกลือลงในถ้วย, ใส่สำลี4-5 ก้อนลงในถ้วย
5. ใช้เหล็กคีบจับหยิบสำลี บิดสำลีให้หมาดด้วยคีม เช็ดทำความสะอาดตามขั้นตอนดังนี้
สำลีก้อนที่ 1 เช็ดรอบๆ ท่อ (เช็ดออกด้านนอก)
สำลีก้อนที่ 2 เช็ดตัวท่อชั้นนอก
สำลีก้อนที่ 3 เช็ดใต้แป้นรอบๆ ท่อเจาะคอ (แผลเจาะคอ)
6. ใช้ผ้ากอซพับเป็นรูปตัว I สอดใต้แป้นท่อเจาะคอ ปิดปลาสเตอร์ที่กอซ ป้องกันการเลื่อนหลุด
7. นำท่อชั้นในที่เย็นแล้ว นำกลับมาใส่ที่เดิม

ข้อแนะนำเพิ่มเติมหากผู้ป่วยมีเสมหะมาก เหนียว ขับออกยาก (ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำที่มีผลต่อการได้รับน้ำ) ดื่มน้ำมากๆ, เทน้ำใส่กาละมังให้ผู้ป่วยสูดน้ำร้อน จะช่วยให้เสมหะอ่อนตัว และให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกได้
ไม่ปิดปลาสเตอร์บนผิวหนัง ปิดเฉพาะตัวกอซ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังผู้ป่วย
การจับท่อเหล็กตัวใน ห้ามจับบริเวณก้านท่อเหล็ก เพื่อป้องกันนำเชื้อโรคเข้าสู่ผู้ป่วย

วิธีทำความสะอาดแผลรอบท่อหลอดลมคอ ถ้าผู้ป่วยทำเองได้ให้ใช้กระจกช่วยส่องดู พร้อมทั้งสังเกตแผลโดยรอบด้วย ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น บวม แดง ปวดเจ็บ มีหนองไหล หรือมีอาการอื่น ๆ รีบกลับไปพบแพทย์ทันที
การทำความสะอาดท่อหลอดลมคอ ควรทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือบ่อยเท่าที่จำเป็น

ขณะที่ใส่ท่อหลอดลมคออยู่ ไม่ควรอาบน้ำฝักบัว หรือลงว่ายน้ำในลำคลอง กันไม่ให้น้ำเข้าหลอดลมคอหรือสิ่งสกปรกอื่นลงไปด้วย

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 พฤษภาคม 2552 เวลา 01:20

    ตัวหนังสือสีแดงมองไม่ค่อยชัด

    ตอบลบ
  2. กรณีเสมหะเกาะที่ outer tube ที่อยู่กับคอผู้ป่วย ใช้สำลีชุบ NSS ยากที่จะเช็ดออก สามารถใช้ NSS ผสม ไฮโดรเจน แล้วเช็ดไว้สักครู่ ให้ฟองฟู่ แล้วเช็ดออกได้ NSS จะผิดมั๊ย...

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ29 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:43

      To K.ruqvong
      This corrected , This method is a good choice to still secretion.

      ลบ
  3. ดิฉันได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์มา แล้วคอไปกระแทกกับคอนโซนรถทำให้หลอดเสียงแตกและต้องเจาะคอใช้ในการหายใจตลอดชีวิต ได้เป็นมาเกือบ 9 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถเดินได้ ต้องการทราบจะช่วยเหลือตัวเองได้อย่างไรบ้างคะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2553 เวลา 01:20

    อยากทราบว่าผู้ป่วยเจาะคอแล้วหยุดหายใจบทบาทพยาบาลต้องทำอย่างไรก่อน

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ6 มีนาคม 2557 เวลา 21:55

    มีบทความดีๆมาร่วมกันแบ่งปันนะคะ จาก ent nurse รพสงฆ์

    ตอบลบ